วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โครงการพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย"ไหว้ครู"

วันที่ 25 มิถุนายน 2558 คณะครูได้นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย"ไหว้ครู" ประจำภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2558 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอบ้านดุง โดยมีนางสาวจิดาภา  เปตามานัง ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบ้านดุงเป็นประธานพร้อมด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาซึ่งร่วมเป็นเกียรติและเป็นกรรมการตัดสินพานไหว้ครู ในโอกาสนี้ กศน.ตำบลถ่อนนาลับได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดพานไหว้ครูจ้า....


วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สื่อการเรียนการสอน รายวิชา โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

วิชา  ทร02006  โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 
จำนวน  3 หน่วยกิต
ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น 
และมัธยมศึกษาตอนปลาย

โดย นางสาวมีนา  สีลุนใด ครู กศน.ตำบลถ่อนนาลั




ตัวชี้วัด
              1. มีความรู้  ความเข้าใจ หลักการและแนวคิดโครงงาน ความหมายของโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ประเภทของโครงงานการเตรียมการทำโครงงาน ทักษะและกระบวนการในการทำ
โครงงานการดำเนินการในการทำโครงงาน
             2. มีความสามารถในการดำเนินการทำโครงงาน  และสะท้อนความคิดเห็นต่อโครงงาน
3.มีเจตคติที่ดีต่อการทำโครงงานและเห็นคุณค่าของโครงงาน
ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยจ้าาาา


ส่วนที่ 1 
สรุปเนื้อหาการจัดทำโครงงาน 

ขั้นตอนการเขียนสรุปผลโครงงาน

  1. คำนำ
  2. สารบัญ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. บทคัดย่อ
  5. บทที่ 1 บทนำ
  •  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
  • วัตถุประสงค์
  • ขอบเขตและวิธีการดำเนินงาน
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     6. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
     7. บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
     8. บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
     9. บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน
    10. ภาคผนวก
    11. อ้างอิง

ตัวอย่างโครงงาน 
รายวิชา รักษ์ท้องถิ่น
เรื่อง สำรวจพืชสมุนไพรใน กศน.ตำบลถ่อนนาลับ

1. คำนำ
        รายงานโครงงานวิชา รักษ์ท้องถิ่น เรื่องสำรวจพืชสมุนไพรใน กศน.ตำบลถ่อนนาลับ” ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดทำโครงงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  
        คนไทยเราใช้สมุนไพรต่างๆมาเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่สมัยอดีตที่มีวิทยาการแพทย์ยังไม่ก้าวล้ำนำสมัยเฉกเช่นในปัจจุบันนี้สมุนไพร ชนิดต่างๆล้วนมีสรรพคุณเป็นโดยไม่ค่อยจะมีฤทธิ์ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ใดๆอย่างที่ยาฝรั่งสมัยนี้มีแม้ว่าในปัจจุบันจะสะดวกสบายกับยาแผนปัจจุบันที่มีขายอยู่ทั่วไป แต่การเรียนรู้จักสมุนไพรไทยไว้บ้างก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ว่าสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยาอย่างไร และจะนำมาตำหรือต้มอย่างไรจึงจะถูกทางกับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านเป็นยาตำรับพื้นๆ เช่น รักษาอาการผดผื่น พุพอง เป็นลมพิษ หรืออักเสบเพราะแมลงกัดต่อย รักษาหิด เหา กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน บรรเทาอาการหอบหืด รักษารังแค ผมร่วงและอาการไม่สบายต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพราะมิใช่ตำรับยาที่มีขั้นตอนการปรุงซับซ้อน ขอเพียงให้รู้จักชนิดของสมุนไพรและนำมาบำบัดรักษาให้ถูกโรคเท่านั้น ทุกบ้านทุกครอบครัวสามารถปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านที่รู้จักกันดี และสามารถปลูกหรือเสาะหาได้ไม่ยากเลยในปัจจุบัน
        คณะผู้จัดทำหวังว่าเอกสารฉบับนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้สนใจและใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเรื่อง “พืชสมุนไพร” ในอันดับต่อไปบ้างไม่มากก็น้อย
คณะผู้จัดทำ
มิถุนายน 2558

สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                 หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
สารบัญภาพ
สารบัญตาราง
บทที่ 1 บทนำ                                                                                                     1
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                               1
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า                                                                                1
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                                                                                    2
สถานที่ที่ทำการศึกษาค้นคว้า                                                                                    2
ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า                                                                                     2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า                                                               3
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการศึกษา                                                                         9
วัสดุ อุปกรณ์                                                                                                        9
วิธีดำเนินการศึกษา                                                                                                 9
บทที่ 4 ผลการศึกษา                                                                                             10
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ                                                                     32
บรรณานุกรม

บทคัดย่อ
        จากการสำรวจพืชสมุนไพรในตำบลถ่อนนาลับ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2558 ถึงเดือน มิถุนายน 2558 พบพืชสมุนไพรทั้งหมด 15 ชนิด 
        พืชสมุนไพร ทั้ง 15 ชนิดที่พบ จะมี ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสรรพคุณของพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคนั้น ๆ
กิตติกรรมประกาศ
       ในการจัดทำโครงงานรายวิชา รักษ์ท้องถิ่น เรื่อง “การสำรวจพืชสมุนไพรใน กศน.ตำบลถ่อนนาลับ”นี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากคณะครู นักเรียน กศน.ตำบล และผู้ปกครองนักเรียน ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสำรวจพืชสมุนไพร ในบริเวณกศน.ตำบล
        ขอขอบพระคุณ นางสาวมีนา สีลุนใด ครูกศน.ตำบลถ่อนนาลับ ที่ได้กรุณาช่วยเหลือแนะนำสนับสนุน การจัดทำโครงงานนี้ จนทำให้โครงงาน เรื่อง “การสำรวจพืชสมุนไพรใน กศน.ตำบลถ่อนนาลับ” สำเร็จลงได้ด้วยดี คณะผู้จัดทำโครงงาน จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
            จากการได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องพืช ในวิชา รักษ์ท้องถิ่น ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่องวิธีการสำรวจระบบนิเวศในท้องถิ่น ทำให้ทราบว่าพืชมีหลายชนิด ซึ่งพืชแต่ละชนิดก็มีลักษณะและประโยชน์ที่ไม่เหมือนกัน ผู้จัดทำโครงงานได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรเป็นพิเศษเพราะ ผู้จัดทำโครงงานได้สังเกตเห็น ว่า เมื่อสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือแมว ไม่สบาย มันมักจะไปเล็มหญ้าหรือใบตะไคร้กิน บางทีเวลาถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟลวกมือผู้ใหญ่จะใช้ว่านหางจระเข้มาทาที่แผลโดยบอกว่าช่วยให้แผลหายเร็วและจะไม่เป็นแผลเป็นหรือเป็นรอยด่าง และสังเกตเห็นบ้านแต่ละหลังในหมู่บ้าน ปลูกพืชสมุนไพรบางอย่างไว้ที่บ้าน เพราะสามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆบางอย่างได้สะดวก และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
            ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงอยากที่จะศึกษาพืชสมุนไพรใน กศน.ตำบลว่ามีพืชสมุนไพรอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์และวิธีใช้อย่างไร ขนาดในการใช้เท่าไหร่ จึงจะใช้ให้ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เพื่อเป็นความรู้ให้แก่เพื่อนในโรงเรียน คนในชุมชน และคนทั่วไปที่สนใจ และเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์พืชสมุนไพร โดยให้ปลูกและกระจายพันธุ์ให้มาก เพราะนับวันพืชสมุนไพรจะหายากขึ้นทุกที ผู้จัดทำโครงงานจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
  1. เพื่อสำรวจพืชสมุนไพรที่พบใน กศน.ตำบล และในท้องถิ่นว่ามีชนิดใดบ้าง
  2. เพื่อศึกษา ลักษณะ สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีการใช้ และขนาดในการใช้ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
  3. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยอนุรักษ์พืชสมุนไพรในโรงเรียนและในท้องถิ่นของตนเอง
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
สำรวจและศึกษาค้นคว้าพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณ กศน.ตำบลถ่อนนาลับ

คำนิยามศัพท์เฉพาะ
พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ

สถานที่ทำการศึกษา
บริเวณ กศน.ตำบลถ่อนนาลับ

ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า
เดือน พฤษภาคม 2558 ถึง เดือน มิถุนายน 2558

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า
            สมุนไพร (Medicinal plant) ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 หมายถึง พืช ที่นำไปทำเป็นเครื่องยา มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ (หาได้ตามพื้นบ้าน หรือป่า) ส่วนคำว่า ยาสมุนไพรตามพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2510 หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ แร่ธาตุ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ แต่การนำไปใช้สามารถดัดแปลงรูปลักษณะเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น อาทิ การนำไปหั่นให้เล็กลง การนำไปบดเป็นผง เป็นต้น การใช้บำบัดอาจใช้แบบสมุนไพรเดี่ยวๆ หรืออาจใช้ในรูปของตำรับยาสมุนไพร
            คนไทยเราใช้สมุนไพรต่างๆมาเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่สมัยอดีตที่มีวิทยาการแพทย์ยังไม่ก้าวล้ำนำสมัยเฉกเช่นในปัจจุบันนี้สมุนไพร ชนิดต่างๆล้วนมีสรรพคุณเป็นโดยไม่ค่อยจะมีฤทธิ์ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ใดๆอย่างที่ยาฝรั่งสมัยนี้มีแม้ว่าในปัจจุบันจะสะดวกสบายกับยาแผนปัจจุบันที่มีขายอยู่ทั่วไป แต่การเรียนรู้จักสมุนไพรไทยไว้บ้างก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ว่าสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยาอย่างไร และจะนำมาตำหรือต้มอย่างไรจึงจะถูกทางกับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านเป็นยาตำรับพื้นๆ เช่น รักษาอาการผดผื่น พุพอง เป็นลมพิษ หรืออักเสบเพราะแมลงกัดต่อย รักษาหิด เหา กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน บรรเทาอาการหอบหืด รักษารังแค ผมร่วงและอาการไม่สบายต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพราะมิใช่ตำรับยาที่มีขั้นตอนการปรุงซับซ้อน ขอเพียงให้รู้จักชนิดของสมุนไพรและนำมาบำบัดรักษาให้ถูกโรคเท่านั้น ทุกบ้านทุกครอบครัวสามารถปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านที่รู้จักกันดี และสามารถปลูกหรือเสาะหาได้ไม่ยากเลยในปัจจุบัน
การจำแนกพืชสมุนไพร
การจำแนกพืชสมุนไพรสามารถจำแนกได้หลายวิธี ดังนี้
1.  การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์
1.1. สมุนไพรที่ใช้เป็นยา แบ่งได้เป็นยารับประทาน ซึ่งนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ เช่น บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร ใช้แก้ไข้ เป็นต้นและยาสำหรับใช้ภายนอก เป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนังแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายเช่น บัวบก ว่านหางจระเข้ ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก เป็นต้น
1.2. สมุนไพรที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่มพืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพ เช่น บุก ดูดจับไขในจากเส้นเลือด ส้มแขก ยับยั้งกระบวนการสร้างไขมันจากแป้ง
1.3. สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องสำอาง เช่น ขมิ้นชัน ไพล อัญชัน ว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เห็ดหลินจือ ที่เป็นส่วนผสมในแชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่นเป็นต้น
1.4. สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตร ได้แก่สมุนไพรที่ใช้ในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืช เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เบื่อเมาหรือมีรสขม เช่น สะเดา ยาสูบ ตะไคร้หอม หางไหล หนอนตายหยาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ใช้ในการ ปศุสัตว์ เช่น ฟ้าทะลายโจร ใช้ผสมอาหารสัตว์เป็นต้น
1.5. สมุนไพรที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย เช่น โหระพา มะกรูด
2. การจำแนกตามลักษณะภายนอกพืช
2.1 ไม้ยืนต้น (tree) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นใหม่ ลำต้นเดี่ยว สูงมากกว่า 6 เมตร เจริญเติบโตตั้งตรงขึ้นไป
2.2 ไม้พุ่ม(shrub) เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ขนาดเล็ก และเตี้ยมีหลายลำต้นที่แยกจากดินหรือลำต้นจะแตกกิ่งก้านใกล้โคนต้น หรือมีลำต้นเล็กๆ หลายต้นจากโคนเดียวกัน ทำให้ดูเป็นกอหรือเป็นพุ่ม
2.3 ไม้ล้มลุก (herb) เป็นพืชที่มีลำต้นอ่อน ไม่มีเนื้อไม้ หักง่าย มีอายุ 1 หรือหลายปี
2.4 ไม้เลื้อยหรือไม้เถา (climber) เป็นพืชที่มีลำต้นยาว ไม่สามารถตั้งตรงได้ต้องอาศัยสิ่งยึดเกาะตามกิ่งไม้ อาศัยส่วนของพืชเกาะ อาจเป็นลำต้น หนวดหรือนามก็ได้
3. การจำแนกตามหลักพฤกษศาสตร์
            จำแนกตามลักษณะของโครงสร้างของดอก รวมทั้งความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและวิวัฒนาการพืช โครงสร้างการจำแนกตามหลักนี้ ถือว่าเป็นระบบที่ถูกต้องแน่นอนที่สุด เป็นที่ยอมรับทางสากล โดยพืชที่อยู่ในตละกูลหรือจีนัส(genus) เดียวกันจะบอกความสัมพันธ์และแหล่งกำเนิด มีความต้องการสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต การควบคุมโรคแมลงที่คล้ายคลึง ซึ่งพืชสมุนไพรเหล่านี้จะมีชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อวงศ์ เพื่อจำแนกพืชสมุนไพรได้ถูกต้อง

บทที่ 3
วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการศึกษา
วัสดุ อุปกรณ์
1. สมุด
2. ปากกา
3. กล้องดิจิตอล
4. หนังสือ
5. ไม้บรรทัด
วิธีดำเนินการศึกษา
1. สำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณโรงเรียนและใน กศน.ตำบลถ่อนนาลับ แล้วจดบันทึกรายละเอียดและถ่ายรูปพืชสมุนไพรแต่ละชนิดไว้
2. สอบถามผู้รู้ในท้องถิ่นว่าพืชสมุนไพรชนิดนี้คืออะไรกรณีที่ไม่รู้
3. นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมา จัดจำแนกประเภทและหาข้อมูลเพิ่มเติม จากหนังสือและ internet ให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ มากที่สุด
4. สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
5. นำเอาพืชสมุนไพรบางชนิดมาแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพร เพื่อที่จะสามารถรับประทานได้ง่ายและสะดวกขึ้น
  
บทที่ 4
ผลการศึกษา
   จากการสำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณ กศน.ตำบลถ่อนนาลับ พบพืชสมุนไพรทั้งหมด 16 ชนิด ดังนี้

1. สะระแหน่



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mentha cordifolia Opizex Fresen วงศ์ : Labiatae
 ชื่อสามัญ : Kitchen Mint ชื่ออื่น : มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้) สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) หอมด่วน (ภาคเหนือ)

ประโยชน์ของสะระแหน่
1. รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก
2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด

2.ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera  (L.)  Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis  Mill
ชื่อสามัญ :  Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ :  Asphodelaceae                                                  
ชื่ออื่น :  หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
สรรพคุณ :
ใบ - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
ทั้งต้น - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
ราก - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด
ยางในใบ - เป็นยาระบาย
น้ำวุ้นจากใบ - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น
เนื้อวุ้น - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
เหง้า - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด




3.แมงลัก

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back. วงศ์ : Labiatae
    ชื่อสามัญ : Hairy Basil ชื่ออื่น : ก้อมก้อ
   ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยมักเรียกผลแมงลักว่าเม็ดแมงลัก ใช้เป็นยาระบายชนิดเพิ่มกาก







4. ตะไคร้


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf    วงศ์ : Gramineae
ชื่ออื่น : ชื่อสามัญ : Lemon Grass
ชื่ออื่น : จะไคร ไคร
ส่วนที่ใช้ :
ทั้งต้น  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้ราก  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด

๕. จักรนารายณ์

ชื่อสามัญ Purple passion vine, Purple velvel plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura divaricata (L.) DC. สมุนไพรจักรนารายณ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า แปะตำปึง, แป๊ะตำปึง
(ไทลื้อ), แปะตังปึง, แป๊ะตังปึง, แปะตังปุง ,ผักพันปี, กิมกอยมอเช่า, จินฉี่เหมาเยี่ย, ว่านกอบ ใบเบก (คนเมือง), ชั่วจ่อ (ม้ง),
เชียตอเอี๊ยะ งู่ปุ่ยไฉ่ (จีน), ไป๋ตงเฟิง ไป๋เป้ยซันชิ (จีนกลาง), จักรนารายณ์ (ไทย) เป็นต้น
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ใช้รักษาโรคเบาหวาน  แก้โรคความดันโลหิตสูง  ช่วยแก้อาการร้อนใน 


๖. ผักแพว

ชื่อสมุนไพร : ผักแพว
ชื่อเรียกอื่นๆ : ผักแพ้ว, ผักไผ่, ผักแพรว, ผักแจว, พริกบ้า, พริกม้า (พริกม่า), จันทร์โฉม, จันทร์แดง และหอมจันทร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polygonum odoratum Lour.
ชื่อสามัญ : Vietnamese Coriander
วงศ์ : POLYGONACEAE
ประโยชน์ทางสมุนไพร :  
ราก ช่วยบำรุงประสาท ช่วยรักษาหอบหืด ช่วยแก้อาการไอ
ใบ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ช่วยชะลอวัย ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง  ดอก ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปอด

๗.ว่านกาบหอย

ว่านกาบหอย ชื่อสามัญ Boat-lily, Oyster Lily, Oyster plant, White flowered tradescantia
ว่านกาบหอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhoeo discolor (L’Herit.) Hance, Rhoeo discolor (L. Her.) 
จัดอยู่ในวงศ์ COMMELINACEAE เช่นเดียวกับก้ามปูหลุด กินกุ้งน้อย ผักปลาบ และหญ้าปักกิ่ง
ประโยชน์ทางสมุนไพร :  ใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ  ใช้แก้หวัด แก้ไอ แก้ไอเนื่องจากหวัด 



๘. ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่าย (คื่นไฉ่) หรือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ภาษาอังกฤษ Celery (เซเลอรี)
ขึ้นฉ่าย ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens Linn. จัดอยู่ในวงศ์APIACEAE (UMBELLIFERAE) ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและกลิ่นฉุน โดยขึ้นฉ่ายเป็นชื่อผักที่มีจากภาษาจีน หรือที่คนไทยเรียกว่า ผักข้าวปีน, ผักปืน, ผักปิ๋ม เป็นต้น
ประโยชน์ทางสมุนไพร :  ช่วยทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร  ช่วยบำรุงหัวใจ และรักษาโรคหัวใจ  ช่วยในการทำงานของระบบหมุนเวียนต่างๆ ในร่างกาย  ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด

๙.กุยช่าย

กุยช่าย ชื่อสามัญ Garlic chives, Leek, Chinese Chives 
กุยช่าย ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium tuberosum Rottl. ex Spreng จัดอยู่ในวงศ์ LILIACEAE หรือวงศ์ AMARYLLIDACEAE 
ประโยชน์ทางสมุนไพร :  ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง  ช่วยลดระดับความดัน





๑๐. ผักชีฝรั่ง

 ผักชีฝรั่ง ภาษาอังกฤษ Culantro, Long coriander, Sawtooth coriander
ผักชีฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Eryngium foetidum L. 
จัดอยู่ในวงศ์APIACEAE  เช่นเดียวกับผักชี ผักชีลาว และผักชีล้อม
ประโยชน์ทางสมุนไพร :  ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง  ช่วยลดระดับความดันโลหิต




               ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back. วงศ์ : Labiatae
               ชื่อสามัญ : Hairy Basil ชื่ออื่น : ก้อมก้อ/อีตู่
               ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยมักเรียกผลแมงลักว่าเม็ดแมงลัก ใช้เป็นยาระบายชนิดเพิ่มกาก 



๑๒.แก้วมังกร


แก้วมังกร ภาษาอังกฤษชาวเอเชียเรามักนิยมเรียกกันว่า Dragon fruit 
แต่สำหรับต่างประเทศในแถบยุโรปนั้นจะใช้คำว่า Pitayaส่วนแก้วมังกร
ชื่อวิทยาศาสตร์เราจะเรียกว่า Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose.
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

๑๓.โหระพา


ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum basilicum Lin.
ชื่อภาษาอังกฤษ: Basil, Thai Basil
ชื่ออื่น: กอมก้อ (ภาคเหนือและอีสาน), นางพญาร้อยชู้, โหระพาไทย, โหระพาเทศ, ห่อกวยซวย ดอกกวยยวย
ประโยชน์
ใบสด มีน้ำมันหอมระเหย เช่น methyl chavicol และ linalool ฯลฯ ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสำอางบางชนิด เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองเป็นเมือก เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร (bulk laxative) ใช้เป็นยาได้หลายชนิด เช่น ปรุงร่วมกับน้ำนมราชสีห์เพื่อกินเพิ่มน้ำนม ตำรวมกับแมงดาตัวผู้ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย นิยมรับประทานร่วมกับอาหารประเภทหลน ลาบ ยำ ส้มตำ ใส่ในแกงเขียวหวาน แกงเผ็ด

๑๔. มะเขือเปราะ

ชื่อสามัญ : มะเขือเปราะ ( EGG PLANT)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : CHIONATHUS PARKINONII
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น : บ่าเขือผ่อย (ภาคเหนือ) บ่าเขือกางกบ (ชนิดที่มีลายสีเขียวอ่อน อยู่บริเวณส่วนก้น) บ่าเขือเดือนแจ้ง (ชนิดที่มีผลสีขาวล้วน) , มะเขือเจ้าพระยา
         
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ใช้เป็นยาแก้ไข้พิษร้อน กระทุ้งพิษไข้ ใช้เป็นยาขับน้ำชื้น

๑๕. พริก

พริก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens L. 
พริก ภาษาอังกฤษ : ChiliChilli Pepper 
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา  ช่วยบรรเทาอาการไอ





บทที่ 5
สรุป อภิปลายผล ข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา
จากการสำรวจพืชสมุนไพรที่พบภายในบริเวณ กศน.ตำบลถ่อนนาลับ ระหว่างเดือน พฤษภาคม 255๘ ถึงเดือน มิถุนายน 255๘ พบพืชสมุนไพรทั้งหมด ๑๕ ชนิด โดยจำแนกพืชสมุนไพร มีผลการศึกษาดังนี้
ที่
ชื่อสมุนไพร
ส่วนที่ใช้เป็นยา
วิธีใช้
สรรพคุณ
1
๑. สาระแน่
ใบ
ใช้ใบต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอน
1. รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก
2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
2
๒. ว่านหางจระเข้
*
              *
                     *

****ตอบเรื่อย ๆ จนครบ 15 ชนิด

เป็นตัวอย่างในการเขียนโครงงานสำรวจนะคะ
หากนักศึกษามีข้อสงสัยติดต่อครูตำบลคะ
อย่าลืมทำแบบทดสอบกันด้วยนะคะ
ขอบคุณคะ