บริบทตำบล

บทที่ ๑
ข้อมูล กศน.ตำบล

๑.  ชื่อสถานศึกษา        กศน.ตำบลถ่อนนาลับ
๒.  ที่ตั้ง/การติดต่อ       บริเวณหลังองค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านถ่อนนาลับ     ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง  จังหวัดุดรธานี รหัสไปรษณีย์  ๔๑๑๙๐
          โทรศัพท์         ๐๘๔-๗๙๒๑๘๗๙                     
          E-mail           nfe.tonnalub@gmail.com                                                    Website  www.https://nfetonnalub.blogspot.com/
                                              
๓.  สังกัด                  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านดุง
                             สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                             สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ


 ๔.  ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบล

           ๔.๑ ประวัติ กศน.ตำบล

          กศน.ตำบลถ่อนนาลับ ในอดีตมีชื่อเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบล (ศรช.) เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๕๒ ต่อมาได้มีการจัดตั้งเป็น กศน.ตำบล ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุปัน พื้นที่ประมาณ ๑ ไร่  

          กศน.ตำบลถ่อนนาลับได้รับอนุญาตจากปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลถ่อนนาลับ ให้ใช้อาคารร่วมกับหน่วยกู้ชีพประจำตำบลบริเวณหลังองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้เป็นสถานที่พบกลุ่มนักศึกษาระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทั้งการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลถ่อนนาลับ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ /๒๕๔๕  จนถึงปัจจุบัน
          การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒ ๒๕๖๑) รัฐบาลได้ให้ความสําคัญ เรื่อง การศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพในทุกระดับ และ ทุกประเภทการศึกษา ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กําหนดไว้ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะได้ดําเนินการจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในทุกพื้นที่ เติมเต็มระบบการศึกษา ให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
          กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) ในขณะนั้นได้ให้ความสําคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน. ตําบลขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตําบลยุคใหม่ที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยในการดําเนินงานโดยการผลักดันงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งให้แก่ศูนย์การเรียนชุมชนหรือ กศน. ตําบล และได้มอบให้สํานักงาน กศน. เร่งรัดพัฒนาและเดินหน้าไปสู่ ความเป็นศูนย์การเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของชุมชน เพื่อให้ประชาชน ทั่วประเทศได้มีพลังแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่มีที่สิ้นสุดตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างแท้จริง โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าในเดือนกันยายน ๒๕๕๓ จะมี กศน. ตําบลครบทั้ง ๗,๔๐๙ ตําบลทั่วประเทศ และได้ทํา
พิธีเปิดตัว กศน. ตําบล เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
          ๔.๒ ทำเนียบครู กศน.ตำบล

ลำดับที่
ชื่อ - สกุล
ตำแหน่ง
รับผิดชอบ
นายธนายุทธ  โคตรโสภา
พนักงานราชการ 
ครูกศน.ตำบล
กศน.ตำบลถ่อนนาลับ
นางอรอุมา  โคตรโสภา
พนักงานราชการ 
ครูกศน.ตำบล
กศน.ตำบลถ่อนนาลับ


๔.๓ อาณาเขต 
          ทิศเหนือ          ติดกับตำบลบ้านบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
          ทิศตะวันออก     ติดกับตำบลบ้านจันทน์ จังหวัดอุดรธานี
          ทิศตะวันตก      ติดกับตำบลนาไหม  อำเภอบ้านดุง
          ทิศใต้              ติดกับตำบลบ้านดุง อำเภอบ้านดุง
สภาพชุมชน  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ป่าโปร่ง ลักษณะพื้นดินปนทรายและลูกรังเป็นส่วนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ในฤดูฝนมีน้ำท่วมที่นาของราษฎรทุกปี และบางส่วนก็แห้งแล้ง ต้องอาศัยน้ำฝนทำนา และขาดน้ำ เพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้ง
ลักษณะที่ตั้ง ตำบลถ่อนนาลับ  เป็น ๑ ใน ๑๓ ตำบล ของอำเภอบ้านดุง   ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอบ้านดุง อยู่ห่างจากอำเภอบ้านดุง  ประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ
            เนื้อที่ ตำบลถ่อนนาลับ  มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ  ๖๙ ตารางกิโลเมตร เป็นเนื้อที่ที่ทำการเกษตรประมาณ  ๓๐,๘๐๕ ไร่  เนื้อที่สาธารณประโยชน์ประมาณ ๑,๖๐๐ ไร่ เนื้อที่อยู่อาศัยประมาณ ๓,๒๗๙ ไร่    คิดเป็น ๗.๔๗ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
 ลักษณะภูมิประเทศ  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ป่าโปร่ง ลักษณะพื้นดินปนทรายและลูกรังเป็นส่วนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ในฤดูฝนมีน้ำท่วมที่นาของราษฎรทุกปี และบางส่วนก็แห้งแล้ง ต้องอาศัยน้ำฝนทำนา และขาดน้ำ เพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้ง
            ภูมิอากาศ
             ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู

ฤดูร้อน       เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน  ประมาณ  ๓  เดือน

ฤดูฝน        เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม  ถึง เดือนตุลาคม  ประมาณ  ๖  เดือน
                             ฤดูหนาว     เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ประมาณ  ๓  เดือน
            ประชากร  ประชากรทั้งสิ้น  ๕,๑๕๑ คน แยกเป็นชาย ๒,๕๖๑ คน เป็นหญิง ๒,๕๙๐ คน จำนวน ๑,๒๒๑ ครัวเรือน คิดเป็น ๔.๑๘ เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดในอำเภอบ้านดุง
            ศาสนา ประชาชนตำบลถ่อนนาลับ นับถือศาสนาพุทธ เป็นส่วนมาก คิดเป็น ร้อยละ ๙๑.๑๓ และนับถือศาสนาคริสต์ เป็นบางส่วน คิดเป็นร้อยละ ๘.๘๗
            ด้านการศึกษา
                   ตำบลถ่อนนาลับ มีสสถานศึกษาของรัฐ เอกชน และสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับต่าง ๆ  รวม  ๘  แห่ง
                  โรงเรียนประถมศึกษา                         ๔        แห่ง
                   โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส)          ๑        แห่ง
                   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                             ๓        แห่ง
          สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ
          โดยทั่วไปแล้วประชาชนผู้มารับบริการของ กศน.ตำบลถ่อนนาลับอยู่ในสังคมที่ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีตามบรรพบุรุษ ประเพณีที่สำคัญ และมีการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น  ได้แก่ ลอยกระทง บุญบั้งไฟ ภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในการสื่อสาร คือ ภาษาอีสาน  ความเชื่อเรื่องต่าง ๆ ของคนบางกลุ่ม เช่น  ดอนปู่ตา
             อาชีพ
อาชีพหลัก คือ อาชีพการเกษตรทั้งสิ้น ๖๙ ไร่ ครอบครัวการเกษตร  ๓๐,๘๐๕ ไร่   
อาชีพรอง   คือ รับจ้าง คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๗๒ ของประชากรทั้งหมด
อาชีพอื่น ๆ คือ ค้าขาย รับราชการ คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๙๗ ของประชากรทั้งหมด
รายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งตำบลประมาณ ๒๓,๕๙๘  บาทต่อปี
             ด้านสังคม
                    มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างกันไม่มากนัก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  มีฐานะปานกลาง  ยึดมั่นในประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น  มีความเชื่อและศรัทธาในความเชื่อและประเพณี  ท้องถิ่น  และยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ  โดยมีข้อมูลสรุปได้ดังนี้ 
ด้านศาสนาวัดและที่พักสงฆ์ ๑๒  แห่ง
             สภาพเศรษฐกิจ
                   เศรษฐกิจ จำแนกได้  ๒ ลักษณะ กล่าวคือ  เศรษฐกิจที่มาจากภาคเกษตรกรรม  และเศรษฐกิจที่มาจากนอกภาคเกษตรกรรม
                   เศรษฐกิจที่มาจากภาคการเกษตร  ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประชากรในพื้นที่ เท่าที่ผ่านมาต้องเผชิญกับความเสี่ยงตลอดเวลา  ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ โรคระบาดต่าง ๆ แล้วยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้าน ราคา ด้านการตลาด ขายผลผลิตไม่ได้  หรือจำหน่ายได้ในราคาต่ำ  ไม่คุ้มทุน  ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมามากมาย เช่น  การอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่เมืองหลวงและจังหวัดใหญ่ที่เป็นที่ตั้งของโรงงาน        
              ด้านการท่องเที่ยว
          อำเภอบ้านดุงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เพิ่มรายได้ให้ราษฎร  คือ
                   ๑. วัดป่าศรีคูณเมือง เป็นเมืองเก่า ตั้งอยู่ที่บ้านถ่อนนาลับ หมู่ที่ ๑ ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีลักษณะเป็นเมืองร้างเก่า มีคูเมือง กำแพง ประตูหอรบพร้อมสรรพ แต่ในปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงคันดินสูงรอบๆ เมืองเท่านั้น ชาวบ้านเรียกว่า คุยเมือง ซึ่ง คำว่า คุย หมายถึง สันดินที่นูนสูงขึ้นมา อาจจะเพี้ยนมาจากคำคูเมืองนั่นเอง
                   วัดป่าศรีคูณเมืองตั้งขึ้นในสมัยใดไม่มีใครทราบเป็นที่แน่นอน จากการศึกษาค้นคว้า จากตำนานคำชะโนด และประวัติ  หนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ของท่านศึกษาเหรียญ แก้ววิเชียร กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า เมืองศรีคูณเมือง ตั้งขึ้น ประมาณศตวรรษที่ ๑๓ ( พ.ศ. ๑๓๐๐ ) ตรงกับอาณาจักรทวาราวดี โยนกนคร โดยมีเจ้าผู้ครองนครคือพระยาอือลือ มเหสีชื่อ สุวรรณโคมคำ พระยาอือลือสืบเชื้อสายจากขอม ที่ลี้ภัยสงครามมา พึ่งพระบรม โพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยนั้นมีศักดิ์เป็นราชนัดดาเขยของพระยาศรีสุทโธ (หลานเขย) ผู้ครองนครคำชะโนด
                   ๒สวนสมุนไพร  ทางกลุ่มได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณะสุขจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดทำสวนสาธิตสวนสมุนไพร กลุ่มได้ดำเนินการนำมาจัดทำเรือนเพาะชำเพื่อจะผลิตกล้าสมุนไพรจำหน่ายปลูกสาธิตในแปลงสาธิตของศูนย์การเรียนรู้ และมีแผนการผลิตกล้าไม้ชนิดอื่นมาจำหน่ายในชุมชนเช่นไม้ยูคาฯ เน้นที่การสร้างรายได้ให้กับคนชุมชนโดยเฉพาะเยาวชน ในชุมชนลดปัญหาการอพยพแรงงานเข้าชุมชนเมือง
          ๓. กลุ่มมุกประดับ  ที่มาของกลุ่มมุกประดับมีชาวบ้านหนองลาดได้ไปทำงานต่างถิ่น ซึ่งเป็นงานใช้ฝีมือจึงฝึกฝนจนชำนาญ เห็นว่ามีรายได้ดีคนในครอบครัวก็สามารถทำร่วมกันได้ พอกลับมาบ้านชักชวนให้ชาวบ้านมาหัดทำสอนให้จนเก่งจากหนึ่งครอบครัวก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนขณะนี้ชาวบ้านหนองลาดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพมุกประดับเกือบทุกครัวเรือน ดังนั้นจึงจัดตั้งกลุ่มขึ้นมารองรับและยังได้รับการสนับสนุนจากอบต.ถ่อนนาลับเป็นอย่างดี
          ๔. ธนาคารชุมชน กลุ่มธนาคารชุมชนถ่อนนาลับ จะเป็นที่เก็บออมเงินทุนของชุมชน และสร้างวัฒนธรรมการออมให้เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบทุนของชุมชน ในเบื้องต้น  ดำเนินการในชุมชนบ้านถ่อนนาลับก่อนแล้วจะพยายามขยายออกไปให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในเขตตำบล ถ่อนนาลับจำนวน ๘ หมู่บ้าน  และมีแผนที่จะนำไปเชื่อมโยงกับเงิน กองทุนหมู่บ้าน  เพื่อให้เกิดระบบทุนที่เข้มแข็ง  และการบริหารจัดการทำเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
การปกครอง 

                    แบ่งเขตการปกครองตาม พ... ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.. ๒๕๔๗ เป็น

ตำบล รวม ๘ หมู่บ้าน  ดังนี้คือ  

              ๑. บ้านถ่อนนาลับ                               
              ๒  บ้านนามั่ง                                    
              ๓. บ้านทุ่งใหญ่                                   
              ๔. บ้านหนองลาด                                
              ๕. บ้านหนองแวง                                
              ๖. บ้านโพธิ์ชัย                                   
              ๗. บ้านโพธิ์ท่าเมือง
             ๘. บ้านเทพเทวี                                   
พื้นที่รับผิดชอบ
กศน.ตำบลถ่อนนาลับ  มีหน้าที่จัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ของตำบล โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ ๑ ตำบล ๘ หมู่บ้าน  กศน.ตำบล ๑ แห่ง  เป็นสถานที่จัดกิจกรรมและการพบกลุ่มของนักศึกษา













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น